วรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์ ในภาษาไทย (เสียงดนตรีหรือเสียงผัน) จำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่ เสียงวรรณยุกต์ | ตัวอย่าง | หน่วยเสียง | สัทอักษร | เสียงสามัญ (ระดับเสียงกลาง) | นา | /nāː/ | [naː˧] | เสียงเอก (ระดับเสียงต่ำ) | หน่า | /nàː/ | [naː˩] | เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ) | น่า/หน้า | /nâː/ | [naː˥˩] | เสียงตรี (ระดับเสียงกลาง-สูง หรือ สูงอย่างเดียว) | น้า | /náː/ | [naː˧˥] หรือ [naː˥] | เสียงจัตวา (ระดับเสียงต่ำ-กึ่งสูง) | หนา | /nǎː/ | [naː˩˩˦] หรือ [naː˩˦] |
ส่วน รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่ - ไม้เอก ( -่ )
- ไม้โท ( -้ )
- ไม้ตรี ( -๊ )
- ไม้จัตวา ( -๋ )
ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วย เช่น ข้า (ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า(ไม้เอก) เป็นต้น |