สระเสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน สะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน สระเดี่ยว หรือ สระแท้ คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง ล่างสุดอักษรโรมันตามราชบัณฑิตติญสถานนะครับ | ลิ้นส่วนหน้า | ลิ้นส่วนหลัง | ปากเหยียด | ปากเหยียด | ปากห่อ | สั้น | ยาว | สั้น | ยาว | สั้น | ยาว | ลิ้นยกสูง | /i/
–ิ i | /iː/
–ี i | /ɯ/
–ึ ue | /ɯː/
–ื ue | /u/
–ุ u | /uː/
–ู u | ลิ้นกึ่งสูง | /e/
เ–ะ e | /eː/
เ– e | /ɤ/
เ–อะ oe(œ) | /ɤː/
เ–อ oe(œ) | /o/
โ–ะ o | /oː/
โ– o | ลิ้นกึ่งต่ำ | /ɛ/
แ–ะ ae(æ) | /ɛː/
แ– ae(æ) | | | /ɔ/
เ–าะ o | /ɔː/
–อ o | ลิ้นลดต่ำ | | | /a/
–ะ a | /aː/
–า a | | |
|
สระเดี่ยว |
สระประสม |
สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้ - เ–ีย /iaː/ ประสมจากสระ อี และ อา ia
- เ–ือ /ɯaː/ ประสมจากสระ อือ และ อา uea
- –ัว /uaː/ ประสมจากสระ อู และ อา ua
ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เ–ียะ เ–ือะ –ัวะ ด้วย แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น |